การวิเคราะห์ก๊าซไอเสียในอุตสาหกรรม (INDUSTRIAL FLUE GAS ANALYSIS) เป็นข้อกำหนดทางกฎหมายในหลายๆประเทศ ข้อดีมีตั้งแต่การประหยัดต้นทุน การรับรองคุณภาพการผลิต ไปจนถึงลดการปล่อยมลพิษ
กระบวนการเผาไหม้สามารถพบได้ในหลากหลายอุตสาหรรม เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้า (Power generation) หรืออุตสาหกรรมเคมี (Chemical industry) รวมถึงอุตสาหกรรมที่มีการเผาไหม้ในการเผาขยะหรือการผลิตซีเมนต์ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยหลักด้านต้นทุนที่จำเป็นต้องลดให้เหลือน้อยที่สุด นอกจากนี้การปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมก็กำลังมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ
ในการวิเคราะห์ก๊าซิไอเสีย (flue gas analysis) ทางอุตสาหกรรม มีก๊าซที่เกี่ยวข้องหลากหลายชนิดได้แก่
– ก๊าซออกซิเจน (O2)
– ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
– ไนตริกออกไซด์ หรือ ก๊าซไนโตรเจนมอนอกไซด์ (NO)
– ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
– ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
– ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S)
– อนุภาคต่างๆ (ฝุ่น, เขม่า)
สารบางชนิดเหล่านี้อาจเป็นภัยคุกคามโดยตรงต่อสุขภาพมนุษย์และเป็นภัยต่อธรรมชาติ ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับกระบวนการเผาไหม้ที่สะอาดเป็นอันดับแรก ซึ่งสามารถทำได้โดยการควบคุมกระบวนการเผาไหม้ (Combustion process) เป็นประจำ
ตัวอย่างกระบวนการเผาไหม้ทางอุตสาหกรรมในการผลิตปูนซีเมนต์ ตั้งแต่ปี 1960 โรงงานปูนซีเมนต์เหล่านี้ยังคงผลิต CO2 ได้มากเป็นสี่เท่าของการจราจรทางอากาศบนโลกใบนี้ ถ้าให้เทียบเป็นประเทศก็จะเป็นผู้ปล่อย CO2 ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก รองจากจีนและสหรัฐอเมริกา
เนื่องจากปัจจุบันมีระบบกรองที่ทันสมัยมากขึ้น ทำให้เตาเผาสามารถปล่อยอนุภาคฝุ่น SO2, CO2 และ NOx ได้ลดลง แต่ก็ควรที่จะจำกัดการปล่อยอย่างเข้มงวดต่อไป
วัตถุดิบสำหรับปูนซีเมนต์ส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติและมีการบดและผสมในกรรมวิธีแห้ง ตามด้วยกระบวนการเผาในเตาเผาแบบหมุน หลังจากนั้นซีเมนต์จะเย็นลงและบดอีกครั้ง เตาเผาแบบหมุนทั่วไปจึงผลิตปูนเม็ดได้ 3,000 ถึง 10,000 ตันต่อวัน
กระบวนการผลิตนี้เป็นการยกตัวอย่างที่เห็นภาพว่าควรตรวจสอบกระบวนการเผาไหม้ที่ใด
ตัวอย่างจุดวัดคือ:
• การวัดค่าในเตาเผา ซึ่งมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่จับกับหินปูนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการเผาไหม้และสร้างงบดุล
• ตรวจวัดก่อนผ่านตัวกรองแบบไฟฟ้าสถิต เพื่อกำหนดประสิทธิภาพของโรงงานและสร้างงบดุล
• วัดก๊าซไอเสียในปล่องระบาย (stack) เพื่อตรวจสอบว่าเป็นไปตามค่าขีดจำกัดการปล่อยก๊าซที่ยอมรับได้
เครื่องวัดประสิทธิภาพการเผาไหม้ (Flue gas analyzer) เป็นตัวช่วยในตรวจสอบการปล่อยมลพิษว่าเป็นไปตามค่าขีดจำกัดอย่างสม่ำเสมอ ทำให้มั่นใจได้ว่าการปล่อยสารที่เป็นอันตรายต่อสภาพอากาศและสุขภาพจะลดลง ในขณะเดียวกันสามารถช่วยประหยัดต้นทุนโดยการปรับกระบวนการเผาไหม้ให้เหมาะสม พลังงานเชื้อเพลิงที่จำเป็นสำหรับการผลิตปูนเม็ดขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้และปริมาณประมาณ 3200 – 5500 เมกะจูลต่อตันในยุโรป ซึ่งสอดคล้องกับพลังงานที่สูงถึง 1500 kWh ต่อตันของปูนเม็ด ดังนั้น การปรับกระบวนการเผาไหม้ให้เหมาะสมที่สุดจะทำให้มีความต้องการพลังงานน้อยลง 1% จะสอดคล้องโดยตรงกับการประหยัดพลังงาน 15 kWh ต่อตันของปูนเม็ด สำหรับการผลิตปูนเม็ดจำนวน 10,000 ตันต่อวัน จะทำให้ประหยัดพลังงานเกือบ 55 ล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมงต่อปี
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้ง่ายว่าทำไมการวิเคราะห์ก๊าซไอเสียในอุตสาหกรรมจึงมีบทบาทสำคัญต่อการปกป้องสิ่งแวดล้อมและการประหยัดต้นทุนได้โดยตรง
เครื่องวัดประสิทธิภาพการเผาไหม้ (FLUE GAS ANALYZER) รุ่น WÖHLER A550 INDUSTRIAL
สนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อที่เบอร์ : 095-950-6666 หรือ Line ID : @instrumentasia